ตัววิ่ง

ยินดีต้อนรับสู่เว็บบล็อกของ Prapapan ได้เลยคะ

วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

หัวใจชายหนุ่ม

ผู้แต่ง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
เกี่ยวกับผู้ทรงพระราชนิพนธ์
-         เป็นบทพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ ๖ ทรงใช้นามปากกาว่า รามจิตติ
-         ทรงเป็นโอรสของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระนามเดิม คือ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ
-         ทรงได้รับสามัญญา ว่า พระมหาธีระราชเจ้า แปลว่า นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่
-         ทรงคัดเลือกจดหมายฉบับที่น่าอ่าน ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ดุสิตสมิต ซึ่งเป็นหนังสือพืมพ์รายสัปดาห์
ลักษณะการแต่ง บันเทิงคดี โดยใช้การเขียนจดหมายเล่าเรื่องเป็นตอนๆต่อเนื่องกันไป เป็นจด ๑๘ ฉบับ
เรื่องย่อ นายประพันธ์เป็นนักเรียนนอกเรียนจบจากอังกฤษ มีความนิยมวัฒนธรรมผรั่ง ชื่นชมผู้หญิงสมัยใหม่จนได้แต่งงานกับผู้หญิงทันสมัย ที่ขาดคุณสมบัติขิงภรรยาที่ดี ชีวิตประสบอุปสรรคแต่ในที่สุดปัญหาต่างๆก็คลี่คลายไป

iam.hunsa.com/tong9613/article/21148

วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ทุกข์ของชาวนาในบทกวี

ผู้แต่ง : สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ที่มา : หนังสือ มณีพลอยร้อยแสง หมวด ชวนคิดพิจิตรภาษา
จุดมุ่งหมาย : แสดงให้เห็นถึงทุกข์ของชาวนา โดยผ่านบทกวี
ลักษณะคำประพันธ์ : ความเรียง โดยใช้บรรยาโวหาร - สาธกโวหาร (ยกตัวอย่างบทกวี)

บทกวีของ จิตร ภูมิศักดิ์
เปิบข้าวทุกคราวคำ จงสูจำเป็นอาจินต์
เหงื่อกูที่สูกิน จึงก่อเกิดมาเป็นคน
ข้าวนี้นะมีรส ให้ชนชิมทุกชั้นชน
เบื้องหลังสิทุกข์ทน และขมขื่นจนเขียวคาว
จากแรงมาเป็นรวง ระยะทางนั้นเหยียดยาว
จากรวงเป็นเม็ดพราว ล้วนทุกข์ยากลำบากเข็ญ
เหงื่อหยดสักกี่หยาด ทุกหยดหยาดล้วนยากเย็น
ปูดโปนกี่เส้นเอ็น จึงแปรรวงมาเป็นกิน
น้ำเหงื่อที่เรื่อแดง และน้ำแรงอันหลั่งริน
สายเลือดกูทั้งสิ้น ที่สูซดกำซาบฟัน

แทนตนเองว่าเป็นชาวนา ที่เรียกร้องความเสมอภาค และแสดงถึงความยากลำบาก แสนสาหัส ในการทำนา ปลูกข้าว ให้ทุกคนกิน
ความช่วยเหลือที่สังคมมีต่อชาวนาในด้านปัจจัยการผลิต การพยุงหรือประกันราคา การรักษาความยุติธรรมก็แทบเป็นไปไม่ได้ ทำให้ชาวนาต่างก็ละทิ้งอาชีพเกษตรกรรม ไปอยู่ในภาคอุตสาหกรรมหรือภาคบริการ แต่ก็ยังมีชาวนาอีกจำนวนหนึ่ง ที่จะขยับขยายตัวเองให่อยู่ในสถานะดีขึ้น ด้วยการปลูกข้าวให้คนอื่นกินต่อไป

http://iam.hunsa.com/loverberry/article/21253

วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

พระเวสสันดร


พระเจ้าสัญชัย ทรงครองราชสมบัติเมืองสีวี มีพระมเหสีทรงพระนามว่า พระนางผุสดี ธิดาพระเจ้ากรุงมัททราช พระนางผุสดีนี้ในชาติก่อนๆ ได้เคยถวายแก่นจันทน์หอม เป็นพุทธบูชาและอธิษฐานขอให้ได้เป็นพุทธมารดาพระพุทธเจ้าในกาลอนาคต 
ครั้นเมื่อนางสิ้นชีวิตก็ได้ไปบังเกิดในเทวโลก เมื่อถึงวาระที่จะต้องจุติมาเกิดในโลกมนุษย์ พระอินทร์ได้ประทานพรสิบประการแก่นาง พรสิบประการมีดังนี้  
๑. ขอให้เกิดในกรุงมัททราช แคว้นสีพี
๒. ขอให้มีดวงเนตรคมงามและดำขลับดั่งลูกเนื้อทราย
๓. ขอให้คิ้วคมขำดั่งสร้อยคอนกยูง
๔. ขอให้ได้นาม "ผุสดี" ดังภพเดิม
๕. ขอให้มีพระโอรสเกริกเกียรติที่สุดในชมพูทวีป
๖. ขอให้พระครรภ์งาม ไม่ป่องนูนดั่งสตรีสามัญ
๗. ขอให้พระถันเปล่งปลั่งงดงามไม่ยานคล้อยลง
๘. ขอให้เส้นพระเกศาดำขลับตลอดชาติ
๙. ขอให้ผิดพรรณละเอียดบริสุทธิ์ดุจทองคำธรรมชาติ
๑๐. ขอให้ได้ปลดปล่อยนักโทษที่ต้องอาญาประหารได้

มาเกิดเป็นพระธิดาเจ้าเมืองมัททราช แคว้นสีพี หรือ สีวี และเมื่อเจริญวัยได้อภิเสกสมรสกับพระเจ้ากรุงสัญชัย



  http://www.larnbuddhism.com/buddha/pravesh.html


วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

มงคลสูตรคำฉันท์


เรื่องย่อ เริ่มต้นกล่าวถึงมนุษย์และเทวดาได้พยายามค้นหาคำตอบว่า อะไรคือมงคล เป็นเวลานานถึง ๑๒ ปีพระอานนท์ได้เล่าให้ฟังว่าเมื่อครั้งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับ  เชตวันมหาวิหารซึ่งอนาถบิณฑิกเศรษฐีได้สร้างถวายไว้  เมืองสาวัตถี มีเทวดาองค์หนึ่งได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าในเวลาปฐมยามแล้วได้ทูลถามเรื่องมงคล พระพุทธองค์จึงตรัสตอบถึงสิ่งที่ไม่เป็นมงคล ๓๘ ประการ หลังจากรับฟังเทศนาจบ เหล่าเทวดาก็บรรลุธรรม
มงคลทั้ง ๓๘ ประการ พระพุทธเจ้าทรงแสดงเป็นคาถาบาลีเพียง ๑๐ คาถา แต่ละคาถาประกอบด้วย -ข้อ และมีคาถมสรุปตอนท้าย  บท ชี้ให้เห็นเหล่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ถ้าปฏิบัติตามมงคลอันสูงสุด๓๘ ประการนี้ได้ จะไม่พ่ายแพ้แก่ข้าศึกศัตรูและจะมีแต่ความเจริญรุ่งเรืองสืบไป